สมัยโบราณ (Antiquity) ของ ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ความคิดในนิยายปรัมปราหากจะกล่าวถึงกรีกโบราณสิ่งแรกที่ต้องคิดถึงคือนิยายกรีก หลักทางความคิดหรือประวัติศาสตร์ทางด้านความคิดของชาวกรีกโรมันก็ได้รับอิทธิพลมาจากนิยายกรีกเช่นกัน ชาวกรีกมีความคิดที่จะอธิบายโลกด้วยเหตุผล จนชาวโลกเชื่อว่าชนชาติผู้ให้กำเนิดและเป็นต้นกำเนิดของหลักปรัชญาความคิดต่างเกิดขึ้นที่นี่ ก่อนอื่นควรเข้าใจว่าหลักความคิดเกี่ยวกับโลกเป็นวัฒนธรรมของชาวกรีกโบราณที่มีอยู่แล้วเปรียบคล้ายกับเหมือนวัฒนธรรมไทย เป็นความเชื่อที่สืบทอด ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นในรูปแบบของนิยายปรัมปรา ความเชื่อเรื่องเทวดา เทวทูต เทพเจ้า ฯลฯทางด้านความคิดนั้นชาวกรีกโบราณก็รู้จักสิ่งเหล่านี้ผ่านนิยาย เรื่องเล่าปรัมปราจากบรรพบุรุษ [7]

ความคิดทางปรัชญาในระยะก่อตัว ราว 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สังคมของชาวกรีกเริ่มมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ จากสังคมที่มีการพึ่งตนเองในการหากินหาใช้ เริ่มมีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ไปจนถึงการค้าขายและเจริญถึงขั้นการส่งออกนำเข้ากับเมืองอื่นๆอย่างกว้างขวาง เมื่อสภาพสังคมความเป็นอยู่ดีมีความมั่งคั่งและสมบุรณ์ขึ้น ชาวกรีกจึงได้มีเวลาในการคิดถึงเรื่องต่างๆ สภาพแวดล้อมเหมาะสมและเอื้ออำนวยแก่การเรียนรู้ มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นจึงเกิดการก่อตัวของวิชาปรัชญา นักคิดกรีกช่วงแรกๆหาเหตุผลอธิบายเกี่ยวกับต้นเหตุของสิ่งต่างๆและต้นกำเนิดของโลก นักคิดชาวกรีกพยายามเสาะหาหลักการที่มีเหตุผลอย่างเป็นสากล พวกเขาเริ่มสละความคิดดั้งเดิมในความเชื่อและเข้าใจด้วยจินตภาพในรูปแบบของนิทานปรัมปรา และเปลี่ยนมาคิดแบบใช้ความคิดสติปัญญาอย่างมีเหตุผล [8]

ปรัชญายุคประวัติศาสตร์โบราณชนเผ่าเร่ร่อนยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่เดิมยังไม่มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางธรรมชาติวิทยา คนในยุคนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยความหวาดกลัว หวาดระแวง และต้องการเข้าใจถึงความเป็นไปตามตามธรรมชาติ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ และธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งก็คือการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกับชีวิตของคนยุคสมัยก่อนเป็นอย่างมาก คนเหล่านั้นจึงตีความและเลือกเชื่อในทำนองนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่อยู่เหนือธรรมชาติ โดยส่วนมากจะนับถือศาสนาธรรมชาติ บรรพบุรุษ วิญญาณนิยม โชคชะตานิยม คติเทพเจ้านิยม เป็นต้นโซโรแอสเตอร์ หนึ่งในนักบวชแห่งอาณาจักรเปอร์เซีย ได้พยายามเปลี่ยนแปลงศาสนาที่นับถือหลายเทพเจ้าให้มานับถือเพทเจ้าเพียงองค์เดียว คาดว่าศาสนาของโซโรแอสเตอร์มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศาสนายูดาห์และคริสต์ศาสนาในยุคสมัยต่อมา ศาสนาพราหม์เกิดขึ้นช่วงที่มีการแบ่งชั้นวรรณะในลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นศาสนาฮินดู และราว 500 ปีก่อนคริสต์ศักราชก็ได้กำเนิดศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแบบปรัชญาที่มองในเรื่องความเสมอภาคและหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ด้วยตนเอง[9]

ปรัชญายุคอินเดียโบราณแนวคิดสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราชคือการแบ่งมนุษย์ออกเป็น 4 ชั้นวรรณะ ซึ่งกล่าวว่าแต่ละชั้นวรรณะมีกำเนิดมาจากอวัยวะของพระเจ้าที่ต่างกัน การแบ่งวรรณะเช่นนี้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ แนวความคิดนี้ได้อธิบายไว้ว่า สังคมของมนุษย์ย่อมมีกิจสำคัญ 3 ประการเพื่อรักษาสังคมเอาไว้คือ

1.ศาสนาและกฎระเบียบในสังคม ทั้งการให้ความรู้ ให้คำปรึกษาวรรณะกษัตริย์ คานอำนาจให้กษัตริย์อยู่ในธรรม วรรณะพราหมณ์เป็นผู้ดูแลหน้าที่นี้

2.การปกป้องสังคมและรัฐ การดูแลป้องกันความวุ่นวาย การปกครองให้เป็นหน้าที่ของวรรณะกษัตริย์ ซึ่งถือเป็นวรรณะนักรบ

3.ผลิตผลเพื่อนการอยู่การกิน การจับจ่ายใช้สอย หรือผู้ทำงานด้านกสิกรรม การค้า หรือการผลิตต่างๆ ให้เป็นหน้าที่ของวรรณะแพศย์

และสุดท้าย แรงงานที่ต้องคอบสนับสนุนเพื่อนให้ทั้ง 3 วรรณะข้างตนทำงานได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ทำหน้าที่ใช้แรงงานหรือด้านกรรมกรนั้นคือวรรณะศูทรคัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์ที่เป็นเสมือนคู่มือนักปกครองในยุคสมัยของอินเดียโบราณ เข้าใจว่าถูกเรียบเรียงโดย เกาติลยะ หรือผู้ที่สามารถยันกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชย์ที่พยายามขยายอำนาจมาสู่อินเดียเอาไว้ได้ คัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสนับสนุนคุณสมบัติของศาสนาพราหมณ์ 3 ประการคือ อำนาจ ธรรมมะ และกามะ ในยุคสมัยอินเดียโบราณจะให้ความสำคัญกับวรรณะพราหมณ์มากกว่าวรรณะกษัตริย์ แต่อรรถศาสตร์จะยึดการให้ความสำคัญกับประมุขของรัฐมากกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่ก็ยังคงยอมรับว่าวรรณะพราหมณ์มีชนชั้นสูงกว่า โดยหน้าที่ของวรรณะพราหมณ์นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องศาสนาและพิธีกรรมมากกว่าการมีบทบาททางราชการของรัฐ[10]

พระพุทธเจ้าเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ จากแคว้นแห่งหนึ่งในชมพูทวีปผู้ค้นพบ(ตรัสรู้)และเผยแพร่ศาสนาพุทธที่เจริญรุ่งเรืองในอินเดียในยุคต่อมาระยะหนึ่ง โดยแก่นสำคัญของปรัชญาชาวพุทธคือการมองชีวิตและสรรพสิ่งในโลกว่าไม่เที่ยงแท้ มีความทุกข์ ไม่ใช่ของตนและมีแต่จะเสื่อมสลายไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุ เน้นความเป็นเหตุเป็นผล ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนอย่าพึงเชื่ออะไรโดยง่าย ศาสนาพุทธเน้นเดินทางสายกลางและการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายอีกทั้งเน้นในเรื่องของหนทางแห่งการดับทุกข์โดยเห็นว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีหลักคิดสำคัญคือ อริยสัจ 4 ในทางปรัชญาตวามคิดทางสังคมของศาสนาพุทธ มีความคิดในการยอมรับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันของมนุษย์ มีความตรงกันข้ามกับระบบวรรณะของฮินดู โดยมีความคิดที่ว่ามนุษย์จะปฏิบัติอะไรจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองไม่ได้ขึนอยู่กับชาติกำเนิด ศาสนาพุทธไม่เน้นถึงรูปแบบการปกครองแต่จะกล่าวถึงธรรมในการปกครองมากกว่า[11])

ปรัชญากรีกโบราณปรัชญากรีกโบราณถือเป็นปรัชญาการเมืองเริ่มแรกที่มีการถกเถียงกัน เกิดขึ้นจากชาวกรีกโบราณในยุคสมัยกว่า 2,000 ปี ชนเผ่านักรบที่ปกครองโดยขุนพลและให้ค่านิยมสูงในเรื่องของความเป็นสหาย ชนเผ่าเหล่านี้รวมตัวกันเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้นมีจุดมุ่งหมายในการปกป้องและป้องกันตนเอง เกิดการสร้างนครรัฐ เช่น เอเธนส์และสปาร์ต้า โดยเอเธนส์ถือเป็นต้นกำเนิดของนักคิดซึ่งชอบตั้งคำถามและโต้แย้งกันเพื่อนสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า philosophy หรือความรักในความรู้ เขาเหล่านั้นไม่ยอมรับในคำอธิบายเรื่องศาสนาหรือประเพณีที่มีมายาวนานอย่างง่ายๆ แต่จะพยายามในการหาคำตอบโดยการตั้งคำถามกับสังคมว่า ศีลธรรม และการเมืองคืออะไร ทาสเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิด นักปรัชญากรีกในยุคสมัยนั้นมองว่าการเกิดมาเป็นทาสเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีนักปรัชญากรีกคนใดสนใจในการถกเถียงว่าทาสเป็นเรื่องที่ชอบธรรมหรือไม่[12] [13]


ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย